ระบบโฟมดับเพลิง
ระบบโฟมดับเพลิงนั้นมีมากมายขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบตามมาตรฐาน เช่น ถังน้ำมันชนิดหลังคาลอย อาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ฉีดโฟมแบบ Rim seal , หรือ ถังน้ำมันชนิดหลังคาติดตาย อาจจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ฉีดโฟมแบบ Top pourer และพื้นที่อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งความเข้มข้นในการผสมโฟมนั้นก็มีต่างกันไป เช่น 1% , 3% , 6% โดยที่การจะได้มาซึ่งการผสมให้เป็นไปตามสัดส่วนนี้ จะต้องมีอุปกรณ์ผสมโฟมตัวนึง เรียกว่า Proportioner หรือ Ratio controller หรือ Inductor ซึ่งเป็นตัวควบคุมการผสมระหว่างน้ำยาโฟมเข้มข้นกับน้ำ ซึ่งอุปกรณ์นี้มีความสำคัญอย่างมากในระบบโฟมดับเพลิง
โฟมดับเพลิง ที่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการดับเพลิง ในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดเพลิงไหม้ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อช่วยในการลดโอกาสความสูญเสียเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อฉีด โฟมดับเพลิง ไปบนของเหลวติดไฟจะพบว่าโฟมปกคลุมอยู่บนบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ทำให้ไฟดับไฟได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากโฟมดับเพลิงมีลักษณะเป็นฟองขนาดเล็กที่มีผนังเป็นสารละลายลดแรงตึงผิว จึงรวมกันเป็นชั้นโฟมที่มีเนื้อยึดเหนี่ยวอย่างมั่นคง ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปยังเชื้อเพลิงและเปลวไฟได้
โฟมดับเพลิง มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำและน้ำมัน จึงปกคลุมได้ในแนบราบและลอยตัวอยู่เหนือของเหลวติดไฟ โดยโฟมจะเคลื่อนที่อย่างอิสระไปตามผิวหน้าของของเหลวที่กำลังลุกไหม้เพื่อไล่อากาศและป้องกันไม่ให้เปลวไฟสัมผัสกับอากาศในบริเวณเพลิงไหม้ พร้อมกันนี้ยังช่วยขัดขวางไอสารไวไฟไม่ให้กระจายไปตามแรงลมและลดความร้อนลง
คุณสมบัติของโฟมดับเพลิง
1. ดับไฟด้วยความเร็วและมีอัตราแผ่คลุมเหมาะสม (Knockdown speed and spreading rate)
เมื่อฉีดโฟมลงไปบนเปลวไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่บนเชื้อเพลิงเหลว โฟมจะต้องสามารถคลุมผิวหน้าเชื้อเพลิงที่กำลังลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็ว และแผ่คลุมพื้นที่ของพื้นผิวเชื้อเพลิงได้ทั้งหมด เมื่อฉีดลงบนเปลวไฟแล้วพบว่ามีการลุกไหม้น้อยลงนั้นแสดงว่าประสิทธิภาพการทำงานของโฟมนั้นมีประสิทธิภาพ โดยสามารถฉีดซ้ำลงไปเป็นสร้างเป็นชั้นโฟมได้
2. ต้านทานความร้อนได้ดี (Heat resistance)
ความร้อนจัดจากการเผาไหม้ไม่ได้มาจากเปลวไฟเพียงอย่างเดียว แต่มาจากปัจจัยอื่นๆ ซึ่งได้แก่ ไอสารไวไฟ รวมถึงพื้นผิวร้อนจัดของวัตถุในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ โดยเป็นผลต่อเนื่องจากการดับเปลวไฟและการแผ่คลุมเชื้อเพลิง ทำให้โฟมดับเพลิงต้องมีคุณสมบัติในการต่อต้านผลกระทบเชิงลบของรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาได้ดี
3. ต้านทานเชื้อเพลิงได้ดี (Fuel resistance)
โฟมดับเพลิงที่ดีต้องมีชั้นฟิล์มโฟมที่เหนียวแน่น เพื่อป้องกันการแทรกซึมของเชื้อเพลิงเหลวโดยเฉพาะสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอนและปิโตรเคมี ถ้าโฟมถูกสารเหล่านี้ผสมเข้าไปในเนื้อโฟมจะทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการควบคุมเพลิงได้
4. ยับยั้งการแพร่กระจายไอเชื้อเพลิง (Flammable vapour suppression)
คุณสมบัติของโฟมดับเพลิงที่นอกจากจะคลุมพื้นผิวด้านบนของเชื้อเพลิงเหลวแล้ว ยังมีการแพร่กระจายของไอเชื้อเพลิงที่อยู่ด้านล่าง ที่พร้อมจะลุกติดไฟได้อีกครั้งเมื่อสัมผัสกับอากาศ ดังนั้นโฟมดับเพลิงต้องมีคุณสมบัติในการควบคุมไอเชื้อเพลิงไม่ให้สัมผัสกับอากาศได้อีก
5. มีความสามารถในการต่อต้านแอลกอฮอล์ (Alcohol resistance)
เชื้อเพลิงเหลวบางชนิดมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือตัวทำละลายที่มีขั้ว ซึ่งสามารถละลายในน้ำที่เป็นส่วนผสมของโฟมดับเพลิง เมื่อแอลกอฮอล์ละลายในน้ำที่เป็นส่วนผสมของโฟมดับเพลิง จะทำให้กลายเป็นของเหลวไวไฟและเกิดการลุกไหม้ได้อีกครั้ง โฟมดับเพลิงที่ดีต้องมีคุณสมบัติในการยับยั้งไม่ให้เชื้อเพลิงเหล่านั้นมารวมตัวกับน้ำ ในระบบอุตสาหกรรมหรืออาคารอื่นๆ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะสามารถควบคุม/ดับไฟ ได้รวดเร็วกว่าโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเนื่องจากเชื้อเพลิงในสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นมีปริมาณน้อยกว่าและการไหม้ไฟไม่รุนแรงเท่าเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงสามารถระบุประเภทของไฟได้ชัดเจนกว่า ทำให้การเลือกติดตั้งและดับเพลิงสามารถเลือกประเภทของสารดับเพลิงสำหรับเชื้อเพลิงชนิดนั้นๆ ได้
แต่ในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นมีความท้าทายมากกว่าในเรื่องของการควบคุมประเภทของไฟ เนื่องจากอุตสาหกกรมปิโตรเคมีนั้นประกอบด้วยเชื้อเพลิงอยู่หลายชนิดและมีปริมาณมาก โดยเฉพาะวัตถุทางเคมีที่มีสารประกอบตั้งต้นที่ติดไฟได้ อีกทั้งมีความเป็นกรด มีฤทธิ์กัดกร่อน และสารผสม นอกจากนี้ยังมีเชื้อเพลิงเหลวอีกหลายรูปแบบที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีเมื่อมีการลุกไหม้ของเปลวไฟ ซึ่งนอกจากเพลิงไหม้ขนาดใหญ่แล้วยังอาจก่อให้เกิดการระเบิดรุนแรงได้อีกด้วย
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีขนาดใหญ่และใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากในการควบคุมดูแล เนื่องจากเครื่องจักรภายในโรงงานจะทำงานอยู่ตลอดเวลา บางพื้นที่ควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่ และบางพื้นที่ควบคุมโดยระบบอัตโนมัติ ซึ่งมีการควบคุมดูแลอย่างปลอดภัยและใกล้ชิด แต่ถึงแม้จะมีการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ แต่เหตุเพลิงไหม้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นและส่งผลต่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ถ้าไม่มีระบบดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะควบคุมสถานการณ์ได้
ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะมีเชื้อเพลิงอยู่ 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1. เชื้อเพลิงความดัน (Pressure-fed fires) เป็นเชื้อเพลิงที่มาจากความดันของก๊าซ และความดันสูงจากของเหลวที่ติดไฟได้
2. เชื้อเพลิงเหลว (Fuel in-depth fire) เป็นเชื้อเพลิงในรูปแบบของเหลวที่ติดไฟได้ซึ่งพบได้ทั่วไปในโรงงานและมีปริมาณมาก
ระบบดับเพลิงในภาคอุตสาหกรรมนี้จึงต้องมีทั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำ ระบบดับเพลิงด้วยก๊าซ ระบบดับเพลิงด้วยโฟม เนื่องจากประเภทของไฟที่จะเกิดขึ้นภายในโรงงานจะมีหลายรูปแบบซึ่งต้องใช้ระบบดับเพลิงที่แตกต่างกันตามชนิดของไฟ
ทำให้ระบบดับเพลิงด้วยโฟมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยควบคุมเพลิงไหม้ในอุตสาหกกรมปิโตรเคมีได้ดี เนื่องจากความสามารถในการดับเพลิงบนเชื้อเพลิงชนิดเหลว อีกทั้งยังควบคุมไอเชื้อเพลิงที่จะลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้ เนื่องจากเชื้อเพลิงชนิดเหลวมีอยู่เป็นปริมาณมากและคุณสมบัติของโฟมดับเพลิงก็สามารถควบคุมไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงชนิดนี้ได้
เทสแรงดันน้ำท่อดับเพลิง รพ.ศูนย์เนชั่น เชียงใหม่
เริ่มระบบดับเพลิง ซีพีอุตสาหกรรมบางพลี
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:TY315
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:TY325
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:AV-1-300