NFPA 72
เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในแวดวงคนทำระบบ Fire Alarm ของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก หรือหน่วยงานใดๆก็ตามจะเป็นต้องปฏิบัติและทำตามข้อกำหนดในการวางระบบ Fire Alarm ภายในอาคาร โดยเนื้อหาของ NFPA 72 หรือ National Fire Alarm Code จะครอบคลุมและกล่าวถึงอุปกรณ์ การออกแบบ การติดตั้ง ตำแหน่งต่างๆที่สำคัญ ประสิทธิภาพ การแจ้งเตือน รหัสต่างๆที่สำคัญ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาของระบบทั้งหมด ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้ทุกคนเข้าใจในระบบเป็นมาตรฐานเดียวกันและรับทราบถึงข้อกำหนดต่างๆที่ต้องปฏิบัติตาม
มาตรฐาน NFPA 72 ถูกแบ่งออกเป็น 11 หัวข้อหลักๆด้วยกัน โดยหัวข้อแรกๆจะพูดถึงขอบเขตของข้อกำหนด จุดประสงค์ และความหมายของศัพท์ต่างๆ อาทิเช่น Alarm, Sloping Ceilings, Automatic Fire Detectors, Emergency Voice, Transmitter, Remote Supervising Station Service, และอื่นๆอีกมากมาย เนื้อหาหลักๆที่เกี่ยวข้องจะเริ่มที่บทที่ 4 หรือ “Fundamentals of Fire Alarm Systems" โดยจะเน้นไปเรื่องการส่งสัญญาณต่างๆและไฟต่างๆที่จะต้องใช้ในการแสดงผลบนหน้าจอ รวมไปถึงการ design และการเดินสายไฟในการประกอบและการติดตั้ง อีกทั้งยังการสำรองไฟฟ้าในกรณีเหตุฉุกเฉิน
หัวข้อต่อมาคือ “Initiating Devices" หรืออุปกรณ์ Smoke Detector ที่จะต้องทำการออกแบบให้ครอบคลุมพื้นที่ตามความเหมาะสมและข้อกำหนด และยังมีการแบ่งประเภทของ Heat Sensing Fire Detector โดยจะแบ่งออกเป็น 7 ระดับตั้งแต่อุณหภูมิต่ำสุดจนอุณหภูมิสูงสุด และมีสีเป็นตัวบ่งบอกของแต่ละประเภท และยังมีตารางกำหนดระยะห่างของ Detector ของความสูงของเพดานที่แตกต่างกันออกไป ในบทต่อมาคือ “Protected Premises Fire Alarm Systems" จัดได้ว่าสำคัญมากทีเดียวเพราะจะแบ่งประเภทของระบบ Fire Alarm ออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน โดยจะแบ่งออกเป็น Class (A และ B), Style (4,6,7) กล่าวถึงประเภทและชนิดของการเดินสายไฟวงจร, และ Signaling Paths
บทที่ 7 เป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการแจ้งเตือนในกรณีเกิดเหตุ Alarm ตามพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป้ายเตือนธรรมดา ป้ายเตือนแบบมีแสงสว่าง เสียงตามสาย โดยจะมีตารางกำหนดขนาดของห้องและแต่ละขนาดและความสูงก็จะมีข้อบังคับแตกต่างกันออกไปในเรื่องของอุปกรณ์แจ้งเตือนเหล่านี้ หรือแม้กระทั่งของความหนาของตัวอักษรตามป้ายเหล่านี้ก็ยังต้องมีข้อกำหนดว่าต้องหนาเท่าไหร่ในระยะที่เท่าไหร่ บทต่อไปคือ “Supervising Station Fire Alarm Systems" ซึ่งเป็นข้อกำหนดของระบบศูนย์กลางของ Fire Alarm โดยจะคำนึงเส้นทางการส่งสัญญาณจากแต่ละสถานที่และเก็บประวัติต่างๆของแต่ละ Alarm หรือเหตุการณ์ และยังกล่าวถึงการแบ่งแยกสัญญาณที่ถูกส่งมาจากแต่ละสถานที่ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้เพื่อให้ระบบไม่เกิดข้อขัดข้องและผิดพลาด
หัวข้อ “Public Fire Alarm Reporting Systems" เป็นหัวข้อของบทที่ 9 โดยจะเป็นลักษณะคล้ายกับบทอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์และการออกแบบเพียงแต่บทนี้จะเป็นเรื่องของระบบ Fire Alarm ในที่สาธารณะและจะมีข้อแตกต่างออกไปเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น ชนิดของ Smoke Detector หรือ สัญญาณการส่ง Signal ซึ่งอาจจะไม่ต้องศึกษาเจาะลึกมากนักเนื่องจากไม่ใช่ application สำหรับ Data Center
ต่อไปในบทที่ 10 จะพูดถึงการทำ Inspection ตรวจสอบและบำรุงรักษาของระบบ Fire Alarm โดยชี้แจงว่าควรคำนึงถึงอุปกรณ์อะไรบ้างและในการทดสอบระบบจะต้องปฏิบัติอย่างไร และบทที่ 11 หรือ “Single and Multiple Station Alarms and Household Fire Alarm Systems" จะเป็น application ที่แตกต่างออกไปเนื่องจากมีไว้สำหรับระบบ Fire Alarm ที่ไว้ติดตั้งตามบ้านเรือนหรือที่พักอาศัย
เทสแรงดันน้ำท่อดับเพลิง รพ.ศูนย์เนชั่น เชียงใหม่
เริ่มระบบดับเพลิง ซีพีอุตสาหกรรมบางพลี
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:TY315
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:TY325
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:AV-1-300