NFPA คืออะไร?
NFPA เป็นชื่อย่อของ National Fire Protection Association ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1896 หรือ 108 ปีมาแล้ว เป็นองค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัย สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ประกอบกิจกรรมโดยไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) มีสมาชิกรายบุคคลทั่วโลกกว่า 75,000 ราย และมีองค์กรทางวิชาชีพและทางการค้าระดับนานาชาติเป็นสมาชิกกว่า 80 องค์กร
ภารกิจหลักของ NFPA คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ที่พัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายจริงของชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ ด้วยวิธีประชามติ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้ความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก
นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สำคัญด้านความปลอดภัยของสาธารณชน มาตรฐานความปลอดภัยของ NFPA กว่า 300 ประเภท ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาใช้ในกระบวนการก่อสร้างและบริหารจัดการอาคารให้มีความปลอดภัย โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ จนถึงการดับเพลิงเมื่อเกิดอัคคีภัย
โดยมีขอบเขตของเนื้อหาดังนี้
1) การตรวจสอบอาคารทั้งถาวร และชั่วคราว ในเรื่องของกระบวนการ เครื่องมือ และระบบ และสถานภาพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต
2) การสืบสวนข้อเท็จจริง กรณี เหตุการณ์ ไฟไหม้ ระเบิด และวัสดุอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉิน
3) ทบทวนแบบก่อสร้าง และข้อกำหนดสำหรับระบบความปลอดภัย และระบบป้องกันอัคคีภัย การเข้าถึง ระบบจ่ายน้ำ กระบวนการของวัสดุอันตราย เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต
4) การให้การศึกษาในเรื่อง ไฟ และความปลอดภัยในชีวิต แก่อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่ว
5) เงื่อนไข การออกแบบ และก่อสร้างอาคารใหม่ และการปรับปรุงสำหรับอาคารที่มีอยู่เดิม
6) การออกแบบ, ปรับปรุง, แก้ไข, ก่อสร้าง, บำรุงรักษา, และทดสอบเครื่องมือ และระบบป้องกันอัคคีภัย
7) ความต้องการทางเข้าสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
8) อันตรายจากเพลิงไหม้ภายนอก ในพืช ขยะ ซากปรักของอาคาร และวัสดุอื่นๆ
9) ระเบียบ ตลอดจนการควบคุมการจัดกิจกรรมพิเศษ ไม่รวมถึง การชุมนุมชน งานแสดงสินค้า สวนสนุก และกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆในลักษณะชั่วคราว และถาวร
10) วัสดุตกแต่งภายใน และเครื่องเรือน และวัสดุติดไฟง่าย ซึ่งมีส่วนทำให้ไฟลาม เป็นพาหะนำไฟ และทำให้เกิดควัน
11) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุไฟไว ทั้งชนิดก๊าซ ของเหลว และของแข็ง
12) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุอันตราย
13) การควบคุมการดำเนินงาน และสถานการณ์ฉุกเฉิน
14) ผลกระทบต่อความปลอดภัยของนักผจญเพลิง
15) การจัดการ การออกแบบ การก่อสร้าง และ เปลี่ยนแปลงวิธีการของทางออกใหม่ และที่มีอยู่เดิม
เทสแรงดันน้ำท่อดับเพลิง รพ.ศูนย์เนชั่น เชียงใหม่
เริ่มระบบดับเพลิง ซีพีอุตสาหกรรมบางพลี
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:TY315
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:TY325
ยี่ห้อ:TYCO-CENTRA
รุ่น:AV-1-300